ลักษณะ Tense ในภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปกริยาเพื่อแสดงกาล กริยานั้นอาจจะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น go went gone หรือเติมปัจจัยเข้าไปหลังกริยา เช่น walk walked walked ในประโยคอาจมีหรือไม่มีคำบอกกาลเวลากำกับอยู่ หน้าที่ของกริยาที่เปลี่ยนไปที่เราเรียกว่า tense ต่าง ๆ นี้ คือ เพื่อบอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ กัน
ตัวอย่างประโยค 3 ประโยคต่อไปนี้ มีความหมายไม่เท่ากันในแง่ของกาลเวลา
1. My friend lives in Bangkok.
2. My friend lived in Bangkok.
3. My friend has lived in Bangkok.
ประโยค 1-3 อาจแปลได้ความเท่ากัน คือ “เพื่อนของฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ” แต่ความหมายของประโยคที่เกี่ยวกับเวลาไม่เท่ากัน
ประโยคที่ 1 ใช้ simple present tense หมายความชัดเจนว่า
เพื่อนของฉันอยู่ในกรุงเทพฯ (กำลังอยู่ในขณะนั้น)
ประโยคที่ 2 ใช้ past tense แสดงว่า
เขาไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว
ประโยคที่ 3 ใช้ present perfect tense อาจหมายความว่า
เขาเคยอยู่ที่นั่นในอดีต ตอนนี้อาจจะยังอยู่หรืออาจไม่อยู่แล้ว
คำบอกกาลในภาษาไทย
ภาษาที่มีวิภัตติ ปัจจัย อย่างภาษาบาลี สันสกฤตและอังกฤษ กาล มาลา วาจก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ในภาษาไทย กาล มาลา วาจก ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าไรนัก เพราะภาษาไทยเวลานำมาพูดหรือเขียน ไม่จำเป็นต้องระบุเวลาว่าเมื่อไร ผู้ฟังและผู้อ่านต้องทำความเข้าใจเอาเอง ภาษาไทยไม่มีการแจกวิภัตติ ปัจจัยเพื่อบอกกาลเวลา คำแต่ละคำใช้ได้ในทุกโอกาส เมื่อต้องการจะบอกกาลเวลาก็มีวิธีการที่จะบอกได้ดังนี้
เมื่อต้องการทราบว่า กริยากระทำเมื่อไรต้องอาศัยกริยาช่วย เช่น จะ อยู่ กำลัง ได้ แล้ว ในภาษาไทยจะบ่งชัดลงไปว่า กริยาแท้ หรือ กริยาช่วย ต้องดูตำแหน่งในประโยคเป็นส่วนประกอบด้วย คำเหล่านี้บอกกาลเวลาต่างกัน คือ
บอกปัจจุบัน เช่น อยู่ กำลัง กำลัง....อยู่ กำลัง....อยู่แล้ว
ดูโทรทัศน์อยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักหลับนอน
(เป็นการบอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังไม่ยุติลง แสดงว่า ยังดูโทรทัศน์โดยไม่ยอมเข้านอน)
เขากำลังวิ่ง
(คำว่า “กำลัง” เป็นคำบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าเขากำลังวิ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าเขายังไม่ได้หยุดวิ่ง)
สมศักดิ์กำลังนอนหลับอยู่
(แสดงว่า ตลอดเวลาสมศักดิ์นอนหลับอยู่ยังไม่ตื่นขึ้นมา เป็นการบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่โดยเน้นความ)
สมศรีกำลังทำการบ้านอยู่แล้ว
(ประโยคนี้เน้นความยิ่งกว่า สมศักดิ์กำลังนอนหลับอยู่เพราะในข้อความนี้ได้เน้นให้เห็นว่า สมศรีได้ลงมือทำการบ้านแล้ว แต่ยังทำการบ้านไม่เสร็จ ซึ่งเป็นการบอกเหตุการณ์ให้รู้ว่าการกระทำได้เริ่มเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่เสร็จ)
บอกอดีต ได้แก่ ได้ ได้....แล้ว เช่น
สมศรีได้รับจดหมาย
(บอกให้รู้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา สมศรีได้รับจดหมาย)
สมศรีได้พบคุณพ่อแล้ว
(บอกให้รู้ว่าการพบคุณพ่อของสมศรีได้ผ่านพ้นไปและเสร็จสิ้นลง เรียบร้อยแล้ว)
บอกอนาคต ได้แก่ จะ กำลังจะ....อยู่ กำลัง....อยู่แล้ว เช่น
ใครจะไปใครจะมา
(บอกเวลาล่วงหน้า เหตุยังไม่เกิด)
หล่อนกำลังจะเปิดวิทยุฟังเพลง
สมศรีกำลังจะกินอาหารอยู่เดี๋ยวนี้แหละ
คุณแม่กับคุณพ่อกำลังจะไปตลาดอยู่แล้ว
ความแตกต่างและความคล้ายคลึงของ tense ในภาษาอังกฤษและภาษาไทยในแง่รูปคำและหน้าที่
Tense ในภาษาอังกฤษ
Tense ในภาษาไทย
รูปคำ
- เปลี่ยนรูปคำกริยา เช่น go went gone
- ไม่เปลี่ยนรูปกริยา
- เติมปัจจัย ed เช่น walk walked walked
- มีการเติมกริยาช่วย เช่น กำลัง กำลังจะ แล้ว
- มีหรือไม่มีคำบอกกาล/เวลา กำกับ
- มีหรือไม่มีคำบอกกาล/เวลา กำกับ
หน้าที่
- บอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ กัน ตาม tense ที่ต่างกัน
- ไม่ให้ความสำคัญกับกาล/เวลาที่ต่างกัน
- รู้กาลเวลาโดยเดาจากปริบท หรือจากคำกำกับเวลา (ถ้ามี)
วิธีแปล
ผู้แปลควรอ่านประโยคภาษาอังกฤษเพื่อทำความเข้าใจความหมายของ tense ในแง่ของกาล/เวลา ดูว่าประโยคนั้นใช้ tense อะไร แล้วจึงแปลถ่ายทอดเป็นภาษาไทยให้ตรงกับลักษณะกาล/เวลา ที่นิยมใช้ในภาษาไทย โดยอาจจะเติมคำเสริมกริยาต่าง ๆ หรือคำบอกเวลาที่เหมาะสมในภาษาไทย เช่น มาตลอด ก่อน แล้ว จะ เพิ่ง เคย เป็นต้น ถ้าในประโยคภาษาอังกฤษนั้นมีกริยาหลายตัวที่อยู่ใน tense เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องใส่คำเสริมกริยาไปทุกที่ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนซึ่งภาษาไทยไม่นิยม ดังตัวอย่างเช่น
เขากำลังจะโทรศัพท์ถึงเพื่อนของเขาและเพื่อนของเขากำลังจะมา
เขาทั้งสองกำลังจะไปทานข้าวนอกบ้านกัน
(ภาษาไทยไม่นิยม)
เช่นเดียวกันเมื่อแปลประโยคหรือข้อความที่เป็นเรื่องเล่า ซึ่งใช้คำกริยาเป็นอดีตกาล
เวลาแปลภาษาไทยไม่นิยมใส่คำบอกกาล ได้ + กริยา อย่างพร่ำเพรื่อ ตัวอย่างเช่น
เขาได้ไปโรงเรียน เขาได้มาถึงโรงเรียนทันเวลา และเขาได้ทำความเคารพครูที่ยืนอยู่หน้าโรงเรียน
(ภาษาไทยไม่นิยม)
ตัวอย่างการแปลประโยคภาษาอังกฤษที่มี tense ต่าง ๆ เป็นภาษาไทย
1. Have you finished your term paper?
ทำรายงานเสร็จแล้วหรือยัง
อธิบาย: แล้ว-ยัง คำบอกเวลาจากอดีตมาจนปัจจุบัน (present perfect tense)
No, but I’ll finish it this evening.
ยังหรอก แต่จะทำให้เสร็จตอนเย็นนี้
อธิบาย: จะ....ตอนเย็นนี้ บอกกาลอนาคตแบบของไทย
2. Did you see a lot of friends at the party?
คุณพบเพื่อนหลายคนไหมที่งานเลี้ยง
อธิบาย: อดีต แต่ไม่จำเป็นต้องใส่คำเสริมบอกอดีต เช่น “ได้” ข้างหน้าคำกริยา
No, I didn’t. When I arrived there, some of them had already left.
ไม่ค่อยพบหรอก พอไปถึงที่งานปรากฏว่าเพื่อนหลายคนกลับไปก่อนแล้ว
อธิบาย: already = ก่อนแล้ว และกริยาในประโยคก็แปลอย่างปกติ
3. Did you enjoy the party last night?
เมื่อคืนงานเลี้ยงสนุกไหม
อธิบาย: แปลคำบอกกาลก็เพียงพอแล้ว last night = เมื่อคืน
Yes, I did. It wasn’t like any other party that I have ever been to.
สนุกซิ ไม่เหมือนกับงานเลี้ยงก่อน ๆ ที่เคยไปเลย
อธิบาย: แปล present perfect จากอดีตจนถึงปัจจุบันโดยใช้คำบอกกาล เคย....เลย
4. When I arrived at the office, the meeting was just beginning
เมื่อฉันไปถึงที่ทำงาน การประชุมกำลังเพิ่งเริ่มพอดี
อธิบาย: เราไม่แปล past tense ของกริยาว่าได้ + v แปลว่า ไปถึง เท่านั้น just
แปลว่า เพิ่ง ใช้คำนี้กับเหตุการณ์ในอดีตก็ได้
continuous tense ในประโยคนี้ แปลตรงกับภาษาไทยว่า กำลัง + v
5. Talking to her wasn’t easy although I had known her for a long time.
(การ) คุยกับเธอนั้นไม่ใช่ของง่าย ทั้ง ๆ ที่ฉันเคยรู้จักเธอมาก่อนแล้ว
อธิบาย: เหตุการณ์ในอดีต ไม่นิยมแปลว่า ได้ + v การแปลเพื่อแสดง past perfect
tense ใช้คำเสริมกริยา เคย...ก่อนแล้ว
6. By the time you read this letter, I will have already left home.
กว่าเธอจะได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันก็คงออกจากบ้านไปแล้ว
อธิบาย: เหตุการณ์ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต สังเกตคำแปล กว่า...จะ คง...แล้ว แล้ว
ใน
ที่นี้แปลว่า ทำอาการนั้นแล้ว ไม่ได้แปลว่า อดีตหรือเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว
7. She explained that the problem of water was solved when she moved to this area ten years ago.
เธอชี้แจงว่าปัญหาเรื่องน้ำแก้ไขไปก่อนที่เธอจะย้ายมาอยู่แถบนี้เมื่อ 10 ปีก่อน
อธิบาย: v. + ed ไม่จำเป็นต้องแปลว่า ได้ + v. เสมอไป ในบางจุดอาจเติม “จะ” เพื่อให้เห็นช่วงเวลาก่อนหลังที่ห่างกัน 2 ช่วง แก้ไขไปก่อน...จะ คำว่า “ก่อน” ที่อยู่ท้ายประโยค แปลจาก ago
8. When I finally knew what was happening, I saw many police inside my house.
ก่อนที่ผมจะรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น ผมก็เห็นตำรวจอยู่เต็มบ้าน
อธิบาย: เพื่อให้เห็นความแตกต่างของเวลา 2 ช่วง ที่ใช้ past tense กับ past
continuous แปลเป็นภาษาไทย โดยใช้คำเสริมกริยา ก่อนจะ
9. She has been standing there, waiting for her son, for more than two hours.
เธอยืนอยู่ที่นั่นมาตลอด คอยลูกชายอยู่เป็นเวลากว่าสองชั่วโมงแล้ว
อธิบาย: present perfect continuous tense แสดงโดยใช้คำเสริมบอกการทอดระยะของ
ช่วงเวลา ....มาตลอด....แล้ว
10. I’ll be seeing him tomorrow at the office.
ผมนัดกับเขาไว้ว่าจะเจอกันพรุ่งนี้ที่ที่ทำงาน
อธิบาย: ประโยคที่ใช้ future continuous tense แสดงว่า มีการตกลงกันไว้แล้ว จะแปลต่างจากประโยคที่ว่า “I’ll see him” ผมจะไปพบเขา ซึ่งใช้ future tense ธรรมดา ที่แสดงถึงอนาคตกาลเท่านั้นเอง
การแปลคำเชื่อมและสรรพนามต่าง ๆ
ปัญหาหนึ่งที่ผู้แปลประสบเมื่ออ่านข้อความที่ติดต่อกันหลายประโยค คือ เกิดความสับสน ไม่ทราบว่าเรื่องราวและใจความเชื่อมโยงกันอย่างไร ส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาหลัก และส่วนใดเป็นส่วนขยาย โดยปกติแล้วประโยคที่ยาวและซับซ้อนจะมีคำเชื่อม (connectives) หรือคำโยงความ (discourse markers) ต่าง ๆ เช่น because, though, however เป็นต้น ทำหน้าที่เชื่อมโยงความแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน คำเชื่อมเหล่านี้นอกจากจะทำหน้าที่เชื่อมข้อความตามโครงสร้างแล้วแต่ละคำยังมีความหมายเฉพาะอีกด้วย ซึ่งในการแปลถ้าผู้แปลสามารถจับความหมายของคำเชื่อมเหล่านี้ได้จะทำให้แปลข้อความออกมาได้ถูกต้องชัดเจน คำเชื่อมต่าง ๆแบ่งตามประเภทและหน้าที่ดังต่อไปนี้
Function
Connectives/Discourse Markers
เพื่อยกตัวอย่าง (example)กล่าวซ้ำใจความสำคัญ (restatement)ให้คำอธิบาย (explanation) บอกเหตุ (cause)บอกเหตุบอกผล (cause & effect)เปรียบเทียบในเชิงคล้ายคลึงกัน(comparison) เปรียบเทียบในลักษณะที่แตกต่าง(contrast )บอกวัตถุประสงค์(purpose)บอกความขัดแย้งกัน(concession)บอกเงื่อนไข,ข้อแม้(condition)บอกเวลา(time)บอกความเพิ่มเติม (addition)
for example, take the example of,for instance, another instance of,such as, an example of, as forin other words, that is to sayin fact, as a matter of fact, accordingbecause, since, asfor this reason, because of this,consequently, as a resultsimilarly, likewise, in the same waybut, whereas, however, in contrast, conversely, on the other hand that, so that, in order that, in order toalthough, though, even though,the former......the latter even if, nevertheless, yetif, unless, provided that, oncondition thatwhen, while, since, asmoreover, furthermore, and
วิธีแปล
อ่านข้อความหรือประโยคเพื่อให้เข้าใจความหมายต่าง ๆ ก่อนจะลงมือแปลให้แบ่งข้อความนั้นเป็นตอน ๆ หรือแบ่งประโยคเป็นช่วงสั้น ๆ และวิเคราะห์โครงสร้างของข้อความหรือประโยคว่าส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาหลัก กรรมและส่วนขยาย
ตัวอย่าง
As a schoolboy / he chose to take the bus to school / instead of being driven there in the family’s limousine. /Later, he won a King’s Scholarship / to study engineering in the United States, / but halfway through that, / he decided to give it up / and returned to Thailand / to study medicine instead. /
จะสังเกตว่า ข้อความนี้มีคำเชื่อมอยู่ 5 คำด้วยกัน คือ as ที่ทำหน้าที่บอกเวลา but, instead และ instead of ทำหน้าที่บอกความแย้ง และ and ทำหน้าที่บอกความเพิ่มเติม ส่วนเครื่องหมาย / แบ่งช่วงข้อความที่จะแปล
คำแปล
เมื่อเป็นเด็กนักเรียน เขาเลือกที่จะนั่งรถเมล์ไปโรงเรียนแทนที่จะนั่งรถที่บ้านไป ต่อมาเขาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ยังประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเรียนไปได้ครึ่งทาง เขาตัดสินใจยกเลิก และกลับมาเมืองไทยเพื่อเรียนแพทย์แทน
ตัวอย่าง
If you want to change the world, change the man in the mirror.
ถ้าเธอต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกละก็ จงเปลี่ยนคนที่คุณเห็นในกระจก
I hear you are enjoying your new job; on the contrary, I think it’s dull.
ฉันได้ยินว่าคุณสนุกกับงานใหม่ของคุณ ตรงกันข้ามทีเดียวฉันคิดว่าน่าเบื่อ
You can add the fluid to the powder or; conversely, the powder to the fluid.
คุณสามารถเติมของเหลวไปในแป้งหรือกลับกันเติมแป้งไปในของเหลวก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น